จำนวนเข้าดู

วันอาทิตย์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

อาหารพื้นบ้านภาคใต้


           อาหารพื้นบ้านภาคใต้มีรสชาติโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ สืบเนื่องจากดินแดนภาคใต้เคยเป็นศูนย์กลางการเดินเรือค้าขายของพ่อค้าจากอินเดีย จีนและชวาในอดีต ทำให้วัฒนธรรมของชาวต่างชาติโดยเฉพาะอินเดียใต้ ซึ่งเป็นต้นตำรับในการใช้เครื่องเทศปรุงอาหารได้เข้ามามีอิทธิพลอย่างมาก
           อาหารพื้นบ้านภาคใต้ทั่วไป มีลักษณะผสมผสานระหว่างอาหารไทยพื้นบ้านกับอาหารอินเดียใต้ เช่น น้ำบูดู ซึ่งได้มาจากการหมักปลาทะเลสดผสมกับเม็ดเกลือ และมีความคล้ายคลึงกับอาหารมาเลเซีย อาหารของภาคใต้จึงมีรสเผ็ดมากกว่าภาคอื่น ๆและด้วยสภาพภูมิศาสตร์อยู่ติดทะเลทั้งสองด้านมีอาหารทะเลอุดมสมบูรณ์ แต่สภาพอากาศร้อนชื้น ฝนตกตลอดปี อาหารประเภทแกงและเครื่องจิ้มจึงมีรสจัด ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น ป้องกันการเจ็บป่วยได้อีกด้วย
           เนื้อสัตว์ที่นำมาปรุงเป็นอาหารส่วนมากนิยมสัตว์ทะเล เช่น ปลากระบอก ปลาทู ปูทะเล กุ้ง หอย ซึ่งหาได้ในท้องถิ่นอาหารพื้นบ้านของภาคใต้ เช่น แกงเหลือง แกงไตปลา นิยมใส่ขมิ้นปรุงอาหารเพื่อแก้รสคาว เครื่องจิ้มคือน้ำบูดู
           อาหารของภาคใต้จะมีรสเผ็ดมากกว่าภาคอื่นๆ แกงที่มีชื่อเสียงของภาคใต้ คือ แกงเหลือง แกงไตปลา เครื่องจิ้มก็คือ น้ำบูดู และชาวใต้ยังนิยมนำน้ำบูดูมาคลุกข้าวเรียกว่า "ข้าวยำ" มีรสเค็มนำและมีผักสดหลายชนิดประกอบ อาหารทะเลสดของภาคใต้มีมากมาย ได้แก่ ปลาหอยนางรม และกุ้งมังกร เป็นต้น        

อาหารไทยภาคใต้
          อาหารของภาคใต้จะมีรสเผ็ดมากกว่าภาคอื่นๆ แกงที่มีชื่อเสียงของภาคใต้ คือ แกงเหลือง แกงไตปลา เครื่องจิ้มก็คือ น้ำบูดู และชาวใต้ยังนิยมนำน้ำบูดูมาคลุกข้าวเรียกว่า "ข้าวยำ" มีรสเค็มนำและมีผักสดหลายชนิดประกอบ อาหารทะเลสดของภาคใต้มีมากมาย ได้แก่ ปลาหอยนางรม และกุ้งมังกร เป็นต้น

https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjpWAJ2QeV4sNhvv6PpMqQi75WZ6NYWbHYuyy5EiUiGl8FThRShniVAS7YoXcE5ABZhLUoYOlvxt94xkdK9hucvdsbIlCg9SPxiE_sTklap357FJTFXI1Gn_5XlNWRD5QDaCNK61dIV9JaJ/s1600/%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%25A1%25E0%25B9%2587%25E0%25B8%2594%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%25AB%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B5%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%2587.jpg

      
         เม็ดเหรียง เป็นคำเรียกของคนภาคใต้ มีลักษณะคล้ายถั่วงอกหัวโต แต่หัวและหางใหญ่กว่ามาก สีเขียว เวลาจะรับประทานต้องแกะเปลือกซึ่งเป็นสีดำออกก่อน จะนำไปรับประทานสดๆ หรือนำไปผัดกับเนื้อสัตว์  หรือนำไปดองรับประทานกับแกงต่างๆ หรือกับน้ำพริกกะปิ หรือ กับหลนก็ได้

https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgqzA05cWgUuwJ2_wbqP8KiTeuhqxgvhqmXkPDVygVF3cEF1iz2PXEsZiBxlUSFShXd-6xHUiRd-qRn1gwrYjQxy-e8vmkC6lZBLy5ASB72ZDfjwT0OtW0dYYeM21Xx_9ohbhGhmZnurwwS/s1600/%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%25B9%25E0%25B8%2581%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%25B5%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%2587.bmp


        ลูกเนียง  มีลักษณะกลม เปลือกแข็งสีเขียวคล้ำเกือบดำ ต้องแกะเปลือกนอก แล้วรับประทานเนื้อใน ซึ่งมีเปลือกอ่อนหุ้มอยู่ เปลือกอ่อนนี้จะลอกออกหรือไม่ลอกก็ได้แล้วแต่ความชอบ ใช้รับประทานสดๆ กับน้ำพริกกะปิ หลนแกงเผ็ด โดยเฉพาะแกงไตปลา ลูกเนียงที่แก่จัดใช้ทำเป็นของหวานได้ โดยนำไปต้มให้สุกแล้วใส่มะพร้าวทึนทึกขูดฝอย และน้ำตาลทรายคลุกให้เข้ากัน

https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjiICpm6GB7AH6arqy9d5wPYu0rlNQAS-Gae7SPYdPRpx7bUds8yQq83s8UwtGDyoxKUNEcz4B0IYnvCBqidigWy-6t6qkaEi3SuObKEtTMZ4Vydlp7kdCK6ek8-ZaNxKP2nNowzhhZahkp/s1600/%25E0%25B8%259D%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25B0%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25AD.jpg


         ฝักสะตอ มีลักษณะเป็นฝักยาว สีเขียว เวลารับประทานต้องปอกเปลือกแล้วแกะเม็ดออก ใช้ทั้งเม็ดหรือนำมาหั่น ปรุงอาหารโดยใช้ผัดกับเนื้อสัตว์หรือใส่ในแกง นอกจากนี้ยังใช้ต้มกะทิรวมกับผักอื่นๆ หรือใช้เผาทั้งเปลือกให้สุก แล้วแกะเม็ดออกรับประทานกับน้ำพริก หรือจะใช้สดๆ โดยไม่ต้องเผาก็ได้ ถ้าต้องการเก็บไว้นานๆ ควรดองเก็บไว้ อาหารพื้นบ้านภาคใต้ที่มีชื่อเสียง เช่น

แกงไตปลาน้ำข้น

http://t3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQyhnm7GOqKHOqIwrczDJHUYrdYyqsg9Pk07Xkjj3mmZLFUpVNe


เครื่องปรุง

ปลาสำลีหรือปลาโอ 1 ตัว
ไตปลาอย่างดี 1/4 ถ้วย
น้ำมะขามเปียกนิดหน่อย
ใบมะกรูด 5-6 ใบ

วิธีทำ


1. ทำความสะอาดปลา ควักไส้ออก แล้วผึ่งให้สะเด็ดน้ำ 
จากนั้นนำไปย่างให้สุกแห้ง แล้วแกะเอาแต่เนื้อ
2. นำน้ำ 2 ถ้วยใส่หม้อเคลือบ ตั้งไฟ พอน้ำเดือดพล่าน ใส่ไตปลาลงไป 
ปล่อยให้เดือดสักครู่ จึงยกลงกรองเอาแต่น้ำ แล้วนำขึ้นตั้งไฟใหม่
3. ใส่เครื่องแกงที่โขลกไว้ลงไป พอหอม ใส่เนื้อปลาย่าง คนให้ทั่ว 
ปรุงรสด้วยน้ำมะขามเปียก (ถ้าชอบอาจตัดรสด้วยน้ำตาลปึกนิดหน่อย) 
พอเดือดอีกครั้ง ใส่ใบมะกรูดฉีก แล้วยกลง เสิร์ฟพร้อมผักสด

เครื่องแกง

ขมิ้น 1 แง่งเล็ก ๆ
ข่าหั่นตามขวาง 5 - 7 แว่น
ตะไคร้ซอยละเอียด 3 ช้อนโต๊ะ
ผิวมะกรูดซอยละเอียด 1/2 ช้อนโต๊ะ
หอมแดง 2 หัว
กระเทียม 1 หัว
พริกขี้หนูสดสีเขียวและสีแดง 20 เม็ด
พริกขี้หนูแห้ง 10 - 15 เม็ด
พริกไทย 1 ช้อนชา
กะปิ 1/ 2 ช้อนโต๊ะ
เกลือป่น 1 ช้อนชา
โขลกเครื่องแกงทั้งหมดรวมกันให้ละเอียด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น