จำนวนเข้าดู

วันจันทร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

พลังงานขยะ


http://www.thailandindustry.com/dbweb/file_attach/images_contents/20111202105848-contents1-28.jpg

พลังงานขยะ พลังงานที่ไม่เป็นแค่ขยะ 

             ในสภาวะที่ประเทศไทยมีความจำเป็นที่จะต้องแสวงหาแหล่งพลังงานหมุนเวียนทดแทนพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลซึ่งนับวันจะมี ปริมาณลดน้อยลงและมีราคาสูงขึ้นขยะเป็นอีก ทางเลือกหนึ่งด้านการผลิตพลังงาน เพราะขยะ มีศักยภาพที่สามารถนำมาใช้เพื่อผลิตพลังงานได้ ทั้งนี้ เนื่องจากมีปริมาณมาก และไม่ต้องซื้อหาแต่ในปัจจุบันมีการนำขยะมาผลิต เป็นพลังงานน้อยมากเมื่อเทียบกับพลังงานทดแทนด้านอื่น ๆ

              ในสภาวะที่ประเทศไทยมีความจำเป็นที่จะต้องแสวงหาแหล่งพลังงานหมุนเวียน ทดแทนพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลซึ่งนับวันจะมีปริมาณลดน้อยลงและมีราคาสูงขึ้นขยะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งด้านการผลิตพลังงาน เพราะขยะมีศักยภาพที่สามารถนำมาใช้เพื่อผลิตพลังงานได้ทั้งนี้เนื่องจากมีปริมาณมากและไม่ต้องซื้อหาแต่ในปัจจุบันมีการนำขยะมาผลิตเป็นพลังงานน้อยมากเมื่อเทียบกับพลังงานทดแทนด้านอื่นๆการย่อยสลายแบบไม่ใช้ออกซิเจน (Anaerobic Digestion) เป็นกระบวนการหมักของเสียในสภาวะที่ไร้ออกซิเจนเพื่อให้จุลินทรีย์ย่อยสลายสารอินทรีย์ให้กลายเป็นก๊าซชีวภาพ สำหรับใช้ผลิตพลังงานไฟฟ้าหรือความร้อนและสุดท้ายยังสามารถปรับสภาพดินให้สามารถนำไปใช้ในการเพาะปลูกพืชได้อย่างปลอดภัย ระบบย่อย สลายแบบไม่ใช้ออกซิเจนสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ตามความเข้มข้นของ สารอินทรีย์ที่ป้องเข้าสู่ถังหมัก ได้แก่ การหมักแบบแห้ง (Dry Digestion) ซึ่งมีความ เข้มข้นของสารอินทรีย์ประมาณร้อยละ 20 – 40 และการหมักแบบเปียก (Wet Digestion) ซึ่งมีความเข้มข้นของสารอินทรีย์น้อยกว่าร้อยละ 20 นอกจากนี้ยังสามารถแบ่งระบบหมัก ตามอุณหภูมิระดับกลาง (Mesophilic Digestion Process) และระบบหมักที่อุณหภูมิสูง (Hemophilic Digestion Process)

              ปริมาณและคุณภาพของก๊าซ ชีวภาพจากระบบย่อยสลายแบบไม่ใช้ออกซิเจนขึ้นอยู่กับลักษณะของขยะเป็นหลักนอกจากนั้นยังขึ้นอยู่กับการควบคุมระบบและสภาพแวดล้อมของการหมัก ได้แก่ ปริมาณแบคทีเรียปริมาณสารอินทรีย์อุณหภูมิระยะเวลาการหมักการผสมคลุกเคล้าและปริมาณสารยับยั้งแบคทีเรีย ก๊าซชีวภาพที่ผลิตได้สามารถนำไปใช้ในการผลิตพลังงานได้หลายรูปแบบเช่นผลิตไฟฟ้าโดยใช้เครื่องยนต์ก๊าซหรือใช้ เป็นเชื้อเพลิงสำหรับหม้อน้ำเพื่อผลิตน้ำร้อนหรือไอน้ำ

การผลิตพลังงานโดยใช้ก๊าซชีวภาพจากหลุมฝังกลบขยะ
(Landfill Gas to Energy) 

             เป็นการพัฒนาและปรับปรุงระบบฝังกลบขยะเพื่อลดการปล่อยก๊าซชีวภาพออก และนำ ก๊าซชีวภาพที่ได้จากหลุมฝังกลบขยะมาใช้พลังงานทดแทนก๊าซชีวภาพที่ได้สามารถนำไป ใช้ประโยชน์เป็นเชื้อเพลิงพลังงานได้หลายทางเช่นเดียวกับก๊าซชีวภาพที่ได้จากระบบย่อยสลายแบบไม่ใช้ออกซิเจน   แต่อาจมีความจำเป็นต้องปรับปรุงคุณภาพก๊าซก่อนนำไปใช้ เช่น การกำจัดน้ำคาร์บอนไดออกไซด์ และสารกัดกร่อนต่าง ๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อกำหนด คุณภาพ ก๊าซสำหรับการใช้ประโยชน์ในแต่ละรูปแบบ การผลิตเชื้อเพลิงขยะ (Refuse Derived Fuel : RDF) เทคโนโลยีผลิตเชื้อเพลิง ขยะ เป็นการนำขยะมาผ่านกระบวนการจัดการต่าง ๆ ได้แก่ การคัดแยกด้วยมือหรือเครื่องจักรการลดขนาดการผสมการทำให้แห้งการอัดแท่งการบรรจุแลการเก็บ เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติ ทางกายภาพและเคมีให้กลายเป็นเชื้อเพลิงขยะ(RDF)ที่มีค่าความร้อนสูงสามารถนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงเพื่อผลิตพลังงาน อีกทั้งยังสะดวกต่อการจัดเก็บและขนส่ง

             การผลิตก๊าซเชื้อเพลิง(Gasification)การผลิตก๊าซเชื้อเพลิงจากขยะชุมชน(MSWGasificationเป็นกระบวนการทำให้ขยะกลายเป็น ก๊าซโดยทำปฏิกิริยาสันดาปแบบไม่สมบูรณ์(PartialCombustion)กล่าวคือสารอินทรีย์ในขยะจะทำปฏิกิริยากับอากาศหรือ ออกซิเจนในปริมาณจำกัดและทำให้เกิดก๊าซซึ่งมีองค์ประกอบหลักคือคาร์บอนมอนออกไซค์ไฮโดรเจนและมีเทน ทั้งนี้ องค์ประกอบของก๊าซเชื้อเพลิงจะขึ้นอยู่กับชนิดของเครื่องปฏิกรณ์(Gasifier)สภาวะความดันอุณหภูมิและคุณสมบัติของก๊าซเชื้อเพลิงแข็งก๊าซเชื้อ เพลิงที่ผลิตได้สามารถใช้งานได้หลายรูปแบบเช่นเป็นก๊าซเชื้อเพลิงสำหรับผลิตไฟฟ้าการให้ความร้อนโดยตรง หรือใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับยานพาหนะทั้งนี้ การใช้งานจะต้อง คำนึงถึงคุณภาพของก๊าซเชื้อเพลิงโดยอาจจำเป็นต้องทำความสะอาดก๊าซเชื้อเพลิงโดยการกำจัดก๊าซ ที่เป็นกรดสารประกอบของโลหะอัลคาไลน์น้ำมันทาร์และฝุ่นละออง เพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพของระบบลดปัญหาการเสียหายของอุปกรณ์และป้องกันปัญหามลพิษที่เกิดขึ้น

            ศักยภาพสำหรับปริมาณขยะที่เกิดขึ้นในประเทศไทยมียอดรวมประมาณ 41,991 ตันต่อวันเป็นขยะที่เกิดขึ้นในกรุงเทพฯ ถึง 9,400 ตันต่อวันซึ่งจำนวนขยะที่เกิดขึ้นสามารถนำมาผลิตเป็นพลังงานได้อย่างมากมายแต่สาเหตุที่การใช้พลังงานจากขยะยังมีน้อย เนื่องมาจากการขาดความพร้อมในหลายด้านทั้งงบประมาณเครื่องมืออุปกรณ์บุคลากรหรือแม้แต่สถานที่ดังนั้นการนำพลังงานจากขยะมา ใช้ในประเทศไทยจึง ต้องอาศัยระยะเวลาในการพัฒนา อีกระยะหนึ่ง จึงจะ สามารถนำพลังงานดังกล่าวมาใช้ได้อย่าง เต็มประสิทธิภาพ

            ขยะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากของเหลือใช้ในกิจวัตรประจำวันของมนุษย์ก่อนจะถูกทิ้งออกมาสู่สิ่งแวดล้อมขยะเหล่านี้ หากไม่ได้รับการกำจัดอย่างถูกวิธีจะส่งผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัยของมนุษย์การนำขยะมาผลิตพลังงาน เป็นอีกวิธีหนึ่งที่สามารถช่วยกำจัดขยะที่เกิดขึ้นได้อีกทั้งวิธีดังกล่าวยังทำให้ได้ประโยชน์จากขยะกลับมาในรูปของ พลังงานจากขยะซึ่งจะทำให้ประเทศมีแหล่งพลังงานเพิ่มขึ้นแต่การใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า ที่สุดยังคงเป็นสิ่งสำคัญ ต่อการอนุรักษ์พลังงานในยุควิกฤตพลังงานเช่นนี้

  พลังงานขยะ พลังงานที่ไม่เป็นแค่ขยะ 

  ในสภาวะที่ประเทศไทยมีความจำเป็นที่จะต้องแสวงหาแหล่งพลังงานหมุนเวียนทดแทนพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลซึ่งนับวันจะมี ปริมาณลดน้อยลงและมีราคาสูงขึ้นขยะเป็นอีก ทางเลือกหนึ่งด้านการผลิตพลังงาน เพราะขยะ มีศักยภาพที่สามารถนำมาใช้เพื่อผลิตพลังงานได้ ทั้งนี้ เนื่องจากมีปริมาณมาก และไม่ต้องซื้อหาแต่ในปัจจุบันมีการนำขยะมาผลิต เป็นพลังงานน้อยมากเมื่อเทียบกับพลังงานทดแทนด้านอื่น ๆ

              ในสภาวะที่ประเทศไทยมีความจำเป็นที่จะต้องแสวงหาแหล่งพลังงานหมุนเวียน ทดแทนพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลซึ่งนับวันจะมีปริมาณลดน้อยลงและมีราคาสูงขึ้นขยะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งด้านการผลิตพลังงาน เพราะขยะมีศักยภาพที่สามารถนำมาใช้เพื่อผลิตพลังงานได้ทั้งนี้เนื่องจากมีปริมาณมากและไม่ต้องซื้อหาแต่ในปัจจุบันมีการนำขยะมาผลิตเป็นพลังงานน้อยมากเมื่อเทียบกับพลังงานทดแทนด้านอื่นๆการย่อยสลายแบบไม่ใช้ออกซิเจน (Anaerobic Digestion) เป็นกระบวนการหมักของเสียในสภาวะที่ไร้ออกซิเจนเพื่อให้จุลินทรีย์ย่อยสลายสารอินทรีย์ให้กลายเป็นก๊าซชีวภาพ สำหรับใช้ผลิตพลังงานไฟฟ้าหรือความร้อนและสุดท้ายยังสามารถปรับสภาพดินให้สามารถนำไปใช้ในการเพาะปลูกพืชได้อย่างปลอดภัย ระบบย่อย สลายแบบไม่ใช้ออกซิเจนสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ตามความเข้มข้นของ สารอินทรีย์ที่ป้องเข้าสู่ถังหมัก ได้แก่ การหมักแบบแห้ง (Dry Digestion) ซึ่งมีความ เข้มข้นของสารอินทรีย์ประมาณร้อยละ 20 – 40 และการหมักแบบเปียก (Wet Digestion) ซึ่งมีความเข้มข้นของสารอินทรีย์น้อยกว่าร้อยละ 20 นอกจากนี้ยังสามารถแบ่งระบบหมัก ตามอุณหภูมิระดับกลาง (Mesophilic Digestion Process) และระบบหมักที่อุณหภูมิสูง (Hemophilic Digestion Process)

            ปริมาณและคุณภาพของก๊าซ ชีวภาพจากระบบย่อยสลายแบบไม่ใช้ออกซิเจนขึ้นอยู่กับลักษณะของขยะเป็นหลักนอกจากนั้นยังขึ้นอยู่กับการควบคุมระบบและสภาพแวดล้อมของการหมัก ได้แก่ ปริมาณแบคทีเรียปริมาณสารอินทรีย์อุณหภูมิระยะเวลาการหมักการผสมคลุกเคล้าและปริมาณสารยับยั้งแบคทีเรีย ก๊าซชีวภาพที่ผลิตได้สามารถนำไปใช้ในการผลิตพลังงานได้หลายรูปแบบเช่นผลิตไฟฟ้าโดยใช้เครื่องยนต์ก๊าซหรือใช้ เป็นเชื้อเพลิงสำหรับหม้อน้ำเพื่อผลิตน้ำร้อนหรือไอน้ำ

การผลิตพลังงานโดยใช้ก๊าซชีวภาพจากหลุมฝังกลบขยะ
(Landfill Gas to Energy) 

              เป็นการพัฒนาและปรับปรุงระบบฝังกลบขยะเพื่อลดการปล่อยก๊าซชีวภาพออก และนำ ก๊าซชีวภาพที่ได้จากหลุมฝังกลบขยะมาใช้พลังงานทดแทนก๊าซชีวภาพที่ได้สามารถนำไป ใช้ประโยชน์เป็นเชื้อเพลิงพลังงานได้หลายทางเช่นเดียวกับก๊าซชีวภาพที่ได้จากระบบย่อยสลายแบบไม่ใช้ออกซิเจน   แต่อาจมีความจำเป็นต้องปรับปรุงคุณภาพก๊าซก่อนนำไปใช้ เช่น การกำจัดน้ำคาร์บอนไดออกไซด์ และสารกัดกร่อนต่าง ๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อกำหนด คุณภาพ ก๊าซสำหรับการใช้ประโยชน์ในแต่ละรูปแบบ การผลิตเชื้อเพลิงขยะ (Refuse Derived Fuel : RDF) เทคโนโลยีผลิตเชื้อเพลิง ขยะ เป็นการนำขยะมาผ่านกระบวนการจัดการต่าง ๆ ได้แก่ การคัดแยกด้วยมือหรือเครื่องจักรการลดขนาดการผสมการทำให้แห้งการอัดแท่งการบรรจุแลการเก็บ เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติ ทางกายภาพและเคมีให้กลายเป็นเชื้อเพลิงขยะ(RDF)ที่มีค่าความร้อนสูงสามารถนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงเพื่อผลิตพลังงาน อีกทั้งยังสะดวกต่อการจัดเก็บและขนส่ง

              การผลิตก๊าซเชื้อเพลิง(Gasification)การผลิตก๊าซเชื้อเพลิงจากขยะชุมชน(MSWGasificationเป็นกระบวนการทำให้ขยะกลายเป็น ก๊าซโดยทำปฏิกิริยาสันดาปแบบไม่สมบูรณ์(PartialCombustion)กล่าวคือสารอินทรีย์ในขยะจะทำปฏิกิริยากับอากาศหรือ ออกซิเจนในปริมาณจำกัดและทำให้เกิดก๊าซซึ่งมีองค์ประกอบหลักคือคาร์บอนมอนออกไซค์ไฮโดรเจนและมีเทน ทั้งนี้ องค์ประกอบของก๊าซเชื้อเพลิงจะขึ้นอยู่กับชนิดของเครื่องปฏิกรณ์(Gasifier)สภาวะความดันอุณหภูมิและคุณสมบัติของก๊าซเชื้อเพลิงแข็งก๊าซเชื้อ เพลิงที่ผลิตได้สามารถใช้งานได้หลายรูปแบบเช่นเป็นก๊าซเชื้อเพลิงสำหรับผลิตไฟฟ้าการให้ความร้อนโดยตรง หรือใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับยานพาหนะทั้งนี้ การใช้งานจะต้อง คำนึงถึงคุณภาพของก๊าซเชื้อเพลิงโดยอาจจำเป็นต้องทำความสะอาดก๊าซเชื้อเพลิงโดยการกำจัดก๊าซ ที่เป็นกรดสารประกอบของโลหะอัลคาไลน์น้ำมันทาร์และฝุ่นละออง เพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพของระบบลดปัญหาการเสียหายของอุปกรณ์และป้องกันปัญหามลพิษที่เกิดขึ้น

              ศักยภาพสำหรับปริมาณขยะที่เกิดขึ้นในประเทศไทยมียอดรวมประมาณ 41,991 ตันต่อวันเป็นขยะที่เกิดขึ้นในกรุงเทพฯ ถึง 9,400 ตันต่อวันซึ่งจำนวนขยะที่เกิดขึ้นสามารถนำมาผลิตเป็นพลังงานได้อย่างมากมายแต่สาเหตุที่การใช้พลังงานจากขยะยังมีน้อย เนื่องมาจากการขาดความพร้อมในหลายด้านทั้งงบประมาณเครื่องมืออุปกรณ์บุคลากรหรือแม้แต่สถานที่ดังนั้นการนำพลังงานจากขยะมา ใช้ในประเทศไทยจึง ต้องอาศัยระยะเวลาในการพัฒนา อีกระยะหนึ่ง จึงจะ สามารถนำพลังงานดังกล่าวมาใช้ได้อย่าง เต็มประสิทธิภาพ


              ขยะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากของเหลือใช้ในกิจวัตรประจำวันของมนุษย์ก่อนจะถูกทิ้งออกมาสู่สิ่งแวดล้อมขยะเหล่านี้ หากไม่ได้รับการกำจัดอย่างถูกวิธีจะส่งผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัยของมนุษย์การนำขยะมาผลิตพลังงาน เป็นอีกวิธีหนึ่งที่สามารถช่วยกำจัดขยะที่เกิดขึ้นได้อีกทั้งวิธีดังกล่าวยังทำให้ได้ประโยชน์จากขยะกลับมาในรูปของ พลังงานจากขยะซึ่งจะทำให้ประเทศมีแหล่งพลังงานเพิ่มขึ้นแต่การใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า ที่สุดยังคงเป็นสิ่งสำคัญ ต่อการอนุรักษ์พลังงานในยุควิกฤตพลังงานเช่นนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น